ตัวอักษร
จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่จุดกึ่งกลางของประเทศไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นจังหวัดที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของภาคอีสานและ ที่ 8 ของประเทศไทย
ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 12,778.3 ตารางกิโลเมตรหรือ 7986,429 ไร่
อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 342 กิโลเมตรหรือขับรถใช่เวลาประมาณ 3 ชั่มโมง 30 นาที
พื้นที่โดยส่วนมากของจังหวัดชัยภูมิ้เป็นป่าและภูเขาเป็นดินแดนแห่งทุ่งดอกกระเจียวงาม
สายน้ำตกชุ่มฉ่ำยามหน้าฝน ผืนป่าอันกว้างใหญ่อุดมที่ภูเขียวแหล่งรวมความหลากหลายของธรรมชาติ
ความมหัศจรรย์ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นอย่างมอหินขาว คือกลุ่มหินอยู่หลายแห่งด้วยกัน
เมื่อเรามาถึงมอหินขาว ก็จะถึงกลุ่มหินชุดแรกคือ "เสาหิน 5 ต้น" เป็นหินที่มีความสูงประมาณ 12
เมตร จำนวนหนึ่งใน 5 มีต้นหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ขนาด 22 คนโอบ
เสาหิน 5 ต้นนี้นับเป็นเสาหินที่เด่นที่สุดและเป็นไฮไลต์ของการมาเที่ยวมอหินขาวซึ่งมีความสวย
และเป็นที่รู้จักมากในหมู่นักท่องเที่ยว
ชัยภูมิ ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยภูเขาที่มีความยาวจากตะวันออกไปจนถึงตะวันตกซึ่งประกอบด้วย
ภูหยวก ภูอีเฒ่า ภูลานคา ภูพังเหยและเชื่อมต่อกับภูพระยาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเพชรบูรณ์
ประวัติความเป็นมา
เมื่อสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองชัยภูมิ ปรากฏในทำเนียบแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ว่าเป็นเมืองขึ้นกับเมืองนครราชสีมา
แต่ต่อมาผู้คนได้อพยพ ออกไปตั้งหลักแหล่งทำมาหากินที่อื่นต่อมาเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้ก่อการกบฏ
ยกทัพเข้ามาหมายจะตีกรุงเทพฯ โดยหลอกหัวเมืองต่างๆ
ที่เดินทัพมาว่าจะมาช่วยกรุงเทพฯ รบกับอังกฤษ จนกระทั่งเจ้าอนุวงศ์สามารถยึดเมืองนครราชสีมาได้เมื่อปี
พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ครั้งต่อมาเมื่อความแตกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ได้กวาดต้อนชาวเมืองนครราชสีมา
เพื่อนำไปยังเมืองเวียงจันทร์ เมื่อไปถึงทุ่งสัมฤทธิ์ หญิงชายชาวเมืองที่ถูกจับโดยการนำของคุณหญิงโม
ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมาได้ลุกฮือขึ้นต่อสู้
พระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองชัยภูมิพร้อมด้วยเจ้าเมืองใกล้เคียงได้ยกทัพออกไปสมทบกับคุณหญิงโมตีกระหนาบทัพเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์จนแตกพ่ายไป
ต่อมาได้สร้าง ศาลาพระยาภักดี (แล) ไว้อยู่ห่างจากตัวเมืองไป 3 กิโลเมตร
อาณาเขต
» ทิศเหนือ : ติดกับจังหวัดเพชรบูรณ์และ
จังหวัดขอนแก่น
» ทิศใต้ : ติดกับจังหวัดของแก่นและจังหวัดนครราชสีมา
» ทิศตะวันอก : ติดกับ
จังหวัดนครราชสีมา
» ทิศตะวันตก : ติดกับ
จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดลพบุรี
ระยะทาง
ระยะทางจากจังหวัดชัยภูมิไปยังจังหวัดใกลัเคียง |
จังหวัดนครราชสีมา |
112 กม. |
จังหวัดขอนแก่น |
127 กม. |
จังหวัดลพบุรี |
237 กม. |
จังหวัดเพชรบูรณ์ |
254 กม. |
ระยะทางจากอำเภอเมืองชัยภูมิไปยังอำเภอต่างๆ |
อำเภอบ้านเขว้า |
13 กม. |
อำเภอบำเหน็จณรงค์ |
58 กม. |
อำเภอเนินสง่า |
30 กม. |
อำเภอบ้านแท่น |
80 กม. |
อำเภอหนองบัวระเหว |
33 กม. |
อำเภอภูเขียว |
80 กม. |
อำเภอคอนสวรรค์ |
38 กม. |
อำเภอภักดีชุมพล |
85 กม. |
อำเภอจตุรัส |
40 กม. |
อำเภอเกษตรสมบูรณ์ |
90 กม. |
อำเภอเก้งคร้อ |
45 กม. |
อำเภอเทพสถิต |
105 กม. |
กิ่งอำเภอซับใหญ่ |
50 กม. |
อำเภอคอนสาร |
125 กม. |
อำเภอหนองบัวแดง |
53 กม. |
|
|
จังหวัดชัยภูมิอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครไปเป็นระยะทางร่วม 342 กิโลเมตร
โดยรถยนต์
จากกรุงเทพฯ ไปตามทางหลวงหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ผ่านรังสิต วังน้อย
จนถึงสามแยกจังหวัดสระบุรี เลี้ยวขวาไปตามทางหลวงหมายเลข 2 (มิตรภาพ)
แล้วแยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 ที่อำเภอสีคิ้ว เข้าสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางประมาณ 342 กิโลเมตร
จากนครราชสีมาใช้ทางหลวงหมายเลข 2 (ถนนสายมิตรภาพ) ผ่านตำบลเจ้าโฮ
หลังจากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 205 ผ่านอำเภอ นนไท ขับต่อไปจะเจอสี่แยกที่ ตำบลบัวกอก อำเภอจตุรัส
จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 201 เขาสู่จังหวัดชัยภูมิ รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 119 กิโลเมตร
โดยรถประจำทาง
มีรถประจำทางธรรมดาและปรับอากาศของบริษัท ขนส่ง จำกัด
และของเอกชน สายกรุงเทพฯ-ชัยภูมิ ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมงครึ่ง
ตรวจสอบ
ตารางเวลารถประจำทาง
โดยรถไฟ
มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงไปยังชัยภูมิทุกวัน โดยต้องขึ้นรถขบวนที่เดินทางไปภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขบวนกรุงเทพฯ-หนองคาย แล้วลงที่สถานีบัวใหญ่
จากนั้นต่อรถโดยสารประจำทางไปอีก 51 กิโลเมตร
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : 1690, 0 2223 7010-20 หรือที่เว็บไซต์ www.railway.co.th
โดยเครื่องบิน
ไม่มีเที่ยวบินไปจังหวัดชัยภูมิโดยตรง แต่ท่านสามาถเลือกเที่ยวบินจากกรุงเทพฯไปลงที่จังหวัดนครราชสีมาหรือจังหวัดขอนเก่น
จากนั้นเดินทางต่อด้วยรถโดยสารประจำทางไปยังจังหวัดชัยภูมิ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเตืมได้ที่ : 1566, 0 2628 2000
งานประจำปีเจ้าพ่อพญาแล (The annual Chao Poh Phraya Lae Festival)
จัดขึ้นช่วง : เดือนมกราคม
งานเริ่มขึ้นวันที่ 12-20 มกราคมของทุกปี ณ ลานอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาและ
และบริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดชัยภูมิพิธีบวงสวงดวงวิญญาณเจ้าพ่อพญาแล
พิธีถวายช้างแด่เจ้าพ่อพญาแล ขบวนแห่ทางศิลปวัฒนธรรม
การออกร้านนิทรรศการจากหน่วยงานรัฐและเอกชน
และกิจกรรมต่างๆ มากมายประกอบไปด้วย การเดินแฟชั่นผ้าไหม
การแข่งขันการประกวดวาดภาพ การแข่งขันประกวดผ้าไหม การประกวดธิดาพญาแล การแดสงดนตรีพื้นบ้าน เป็นต้น
สอบถามข้อมูลเพิ่มเตอมได้ที่ : สำนักงานจังหวัดชัยภูมิ 0 4481 1573
งานรำผีฟ้า (The Ram Phi Fah traditional dance)
จัดขึ้นช่วง : เดือนเมษายน
งานนี้เริ่มต้นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เดือนเมษายน ของทุกปี ณ วัดศิลาอาศน์ (ภูพระ)
กิจกรรมภายในงานมี ขบวนรำวงกลุ่ม รำบวงสรวง ในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 5
ในตอนเช้ามีการทำบุญตักบาตรพระสงฆ์
ปกติการรำผีฟ้าเป็นการรำเข้าทรงเพื่อเป็นการักษาอาการเจ็บป่วยของชาวบ้าน
โดยมีการร่ายรำบูชาแถนหรือผีฟ้า แต่การรำผีฟ้าที่ภูพระแตกต่างไปจากการรำผีฟ้าที่อื่นๆ ตรงที่เหล่าบรรดา "นางทราง" หรือ
"ผีฟ้า" ทั้งหลาย ที่มีความเลื่อมใสศรัทธาพระเจ้าองค์ตื้อ ที่ภูพระจะมาร่วมชุมนุมกันกราบไหว้ในเทศกาลสงกรานต์
มีการรำบวงสรวงที่เรียกว่า "รำผีฟ้า" เพื่อเป็นการเซ่นสรวงที่พระเจ้างองค์ตื้อได้ดลบันดาลความร่มเย็น
งานบุญเดือน 6 (สักการะเจ้าพ่อพญาแล)
จัดขึ้นช่วง : เดือนพฤษาภาคม
งานเริ่มต้นทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เดือน พฤษภาคม ของทุกปี ณ ศาลเจ้าพ่อพญาแลบริเวณสวนสาธารณะหนองปลาเฒ่า
ถือเป็นงานเทศกาลฉลองความยิ่งใหญ่ของชาวชัยภูมิ
หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า งานบุญเดือน 6 อันเป็นการรำลึกถึง คุณงานความดีของเจ้าพ่อพญาแล
โดยในการจัดงานนี้ประกอบด้วย พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณของเจ้าพ่อพญาแล
ขบวนแห่สักการะอนุสาวรีย์เจ้าพ่อ ขบวนถวายช้างแด่เจ้าพ่อและขบวนแห่งานบุญเดือน 6
ของตำบลต่างๆ อีกทั้งกิจกรรมภายในงานที่น่าสนใจ อาทิ
การประกวดหลานปู่แล การแสดงดนตรีพื้นบ้าน การแสดงมหรสพ วงดนตรีลูกทุ่งและสตริง