1 แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง
สถานที่ตั้ง : อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี
การเดินทาง
ใช้ทางหลวงหมายเลข 22 (อุดรธานี – สกลนคร) จนไปถึงหลักกิโลเมตรที่ 50 จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2225 ไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร รวมระยะทางจากตัวเมืองอุดรธานีถึงบ้านเชียง ประมาณ 55 กิโลเมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09:00 – 16:00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 30 บาท (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4220 8340 |
2 เมืองฟ้าแดดสงยาง
สถานที่ตั้ง : อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
การเดินทาง
ห่างจากตัวจังหวัด 19 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 214 (กาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด) ระยะทาง 13 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสย เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2367 ระยะทาง 6 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาเข้าซอยอีกประมาณ 400 เมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 - 17.00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
3 อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง (ปราสาทหินพนมรุ้ง)
สถานที่ตั้ง : อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์
ปราสาทพนมรุ้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ประกอบด้วยอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ที่ตั้งเรียงรายขึ้นไปจากลาดเขาทางขึ้นจนถึงปรางค์ประธานบนยอดอันเปรียบเสมือนวิมานที่ประทับของพระศิวะ บันไดทางขึ้นช่วงแรกทำเป็นตระพัง (สระน้ำ) สามชั้นผ่านขึ้นมาสู่พลับพลาชั้นแรก จากนั้นเป็นทางเดินซึ่งมีเสานางเรียงปักอยู่ที่ขอบทางทั้งสองข้างเป็นระยะ ๆ ถนนทางเดินนี้ ทอดไปสู่สะพานนาคราช ซึ่งเปรียบเสมือนจุดเชื่อมต่อระหว่างดินแดนแห่งมนุษย์และสรวงสวรรค์ ด้านข้างของทางเดินทางทิศเหนือมีพลับพลาสร้างด้วยศิลาแลง 1 หลัง เรียกกันว่า โรงช้างเผือก สุดสะพานนาคราชเป็นบันไดทางขึ้นสู่ปราสาท ซึ่งทำเป็นชานพักเป็นระยะ ๆ รวม 5 ชั้น สุดบันไดเป็นชานชลาโล่งกว้าง ซึ่งมีทางนำไปสู่สะพานนาคราชหน้าประตูกลางของระเบียงคด อันเป็นเส้นทางหลักที่จะผ่านเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท และจากประตูนี้ยังมีสะพานนาคราชรับอยู่อีกช่วงหนึ่งก่อนถึงปรางค์ประธาน
ปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ตรงศูนย์กลางของลานปราสาทชั้นใน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสย่อมุมมณฑป คือห้องโถงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า เชื่อมอยู่ทางด้านหน้าที่ส่วนประกอบของปรางค์ประธานตั้งแต่ฐานผนังด้านบนและด้านล่าง เสากรอบประตู เสาติดผนัง ทับหลัง หน้าบัน ซุ้มชั้นต่าง ๆ ตลอดจนกลีบขนุนปรางค์ล้วนสลักลวดลายประดับทั้งลวดลายดอกไม้ ใบไม้ ภาพฤาษี เทพประจำทิศ ศิวนาฏราช ที่ทับหลังและหน้าบันด้านหน้าปรางค์ประธาน ลักษณะของลวดลายและรายละเอียดอื่น ๆ ช่วยให้กำหนดได้ว่าปรางค์ประธานพร้อมด้วยบันไดทางขึ้นและสะพานนาคราชสร้างขึ้นเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 17 ภายในลานชั้นในด้านตะวันตกเฉียงใต้ มีปรางค์ขนาดเล็ก 1 องค์ ไม่มีหลังคา จากหลักฐานทางศิลปกรรมที่ปรากฏ เช่น ภาพสลักที่หน้าบัน ทับหลัง บอกให้ทราบได้ว่าปรางค์องค์นี้สร้างขึ้นก่อนปรางค์ประธาน มีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ 16 นอกจากนี้ยังมีฐานปรางค์ก่อด้วยอิฐซึ่งมีอายุเก่าลงไปอีก คือประมาณพุทธศตวรรษที่ 15 อยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์ประธาน และที่มุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือและทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก่อด้วยศิลาแลง มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ร่วมสมัยกับพลับพลาที่สร้างด้วยศิลาแลงข้างทางเดินที่เรียกว่า “โรงช้างเผือก”
การเดินทาง
เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 218 (บุรีรัมย์-นางรอง) เป็นระยะทางประมาณ 50 กิโลเมตร จากนั้นให้เลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 24 (สีคิ้ว-อุบลราชธานี) ไปจนถึงหมู่บ้านตะโก ประมาณ 14 กิโลเมตร แล้วจึงเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ผ่านบ้านตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง เดินทางโดยใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 219 (บุรีรัมย์-ประโคนชัย) เป็นระยะทางประมาณ 44 กิโลเมตร ถึงตัวอำเภอประโคนชัย จะเห็นทางแยกที่จะไปอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง ซึ่งใช้เวลาเดินทางอีกประมาณ 21 กิโลเมตร โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 2075 และเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2117 ก็จะถึงอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.30 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 40 Baht (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4478 2715 |
4 อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย
สถานที่ตั้ง : อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
จากหลักฐานศิลาจารึกและศิลปะการก่อสร้าง บ่งบอกว่าปราสาทหินพิมายคงจะเริ่มสร้างขึ้นในราวปลายพุทธศตวรรษที่ 16 ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 รูปแบบทางศิลปกรรมของตัวปราสาทเป็นแบบปาปวนซึ่งเป็นศิลปะที่รุ่งเรืองในสมัยนั้น โดยมีลักษณะของศิลปะแบบนครวัดซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยต่อมาปนอยู่บ้าง และมาต่อเติมอีกครั้งในราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งครั้งนั้นเมืองพิมายเป็นเมืองซึ่งมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอาณาจักรเขมร ปราสาทหินแห่งนี้สร้างเป็นศาสนสถานในพุทธศาสนาลัทธิมหายานมาโดยตลอด เนื่องจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงนับถือพุทธศาสนาลัทธิมหายาน
การเดินทาง
จากสถานีขนส่งสายตะวันออกเฉียงเหนือ นั่งรถสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา (รถธรรมดาและปรับอากาศ) บริการตลอด 24 ชั่วโมง และต่อรถโดยสาร นครราชสีมา - พิมาย - ชุมพวง
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07:30 - 18:00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 20 บาท (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4447 1535, 0 4447 1568 |
5 พระธาตุก่องข้าวน้อย
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร
พระธาตุก่องข้าวน้อยมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจ ซึ่งผิดไปจากปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา แต่ประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยกลับเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนา ที่ทำนาตั้งแต่เช้าจนเพล มารดาส่งข้าวสายเกิดหิวข้าวจนตาลาย อารมณ์ชั่ววูบทำให้เขากระทำมาตุฆาตด้วยสาเหตุเพียงว่าข้าวที่เอามาส่งดูจะน้อยไปไม่พอกิน ครั้นเมื่อกินข้าวอิ่มแล้ว ข้าวยังไม่หมดจึงได้สติคิดสำนึกผิดที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างพระธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้น เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต นอกจากนี้ที่บริเวณบ้านตาดทอง กรมศิลปากรได้ดำเนินการขุดค้นเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ได้ค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และภาชนะลายเขียนสีแบบบ้านเชียง
การเดินทาง
ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 9กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 23 (ยโสธร-อุบลราชธานี) กิโลเมตรที่ 194เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
6 พระธาตุนาดูน
สถานที่ตั้ง : อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
การเดินทาง
จากตัวเมืองมหาสารคาม โดยใช้เส้นทางหมายเลข 2040 ผ่านอำเภอแกดำ อำเภอวาปีปทุม แล้วเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2045 ถึงอำเภอนาดูน ทางลาดยางตลอด ห่างจากตัวเมืองประมาณ 65 กิโลเมตร
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
---|
7 พระธาตุนารายณ์เจงเวง
สถานที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
การเดินทาง
ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสกลนคร-อุดรธานี (ทางหลวงหมายเลข 22) ถึงบริเวณบ้านธาตุซึ่งอยู่ก่อนถึงสี่แยกถนนเลี่ยงเมืองเล็กน้อยแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปอีก 400 เมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:00 – 17:00 น. |
---|
8 พระธาตุหนองสามหมื่น
สถานที่ตั้ง : อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
พระธาตุหนองสามหมื่นมีลักษณะเป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีความสูงประมาณ 45.30 เมตร มีบันไดทางขึ้นทั้งสี่ด้าน เหนือฐานเขียงเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายรองรับองค์พระธาตุ ซึ่งมีซุ้มทั้งสี่ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางรำพึง และปางลีลา ภายในองค์พระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า รูปแบบดังกล่าวอาจเปรียบเทียบได้กับพระธาตุอื่น ๆ ทั้งในนครเวียงจันทน์และในเขตไทย เช่น พระธาตุวัดเทพพล เมืองเวียงคุก จังหวัดหนองคาย พระธาตุศรีเมือง นครเวียงจันทน์ เป็นต้น
จากหลักฐานทางโบราณคดีพบว่าบริเวณนี้เคยเป็นเมืองโบราณขนาดใหญ่สมัยทวารวดี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-16 ปรากฏร่องรอยของคูน้ำ คันดิน และโคกเนินโบราณสถานหลายแห่ง โบราณวัตถุสำคัญที่พบทั้งในและนอกเขตคูเมืองหลายชิ้นได้นำมาเก็บรักษาไว้ที่วัด เช่น กลุ่มใบเสมาหินทราย บางแผ่นก็มีจารึกอักษรปัลลวะภาษาสันสกฤต อายุราวพุทธศตวรรษที่ 12-14 และมีแผ่นหนึ่งนำไปตั้งเป็นหลักเมืองประจำอำเภอภูเขียวด้วย นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมรูปเคารพอีก 2 ชิ้น สภาพชำรุดชิ้นหนึ่งคล้ายเศียรพระพุทธรูปนาคปรกในศิลปะขอมแบบบายน อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง
จากตัวเมืองชัยภูมิเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 201 ผ่านอำเภอภูเขียวไปจนถึงบ้านหนองสองห้องระยะทาง 80 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2055 ประมาณ 9 กิโลเมตร ถึงบ้านแก้งเลี้ยวซ้ายไปวัดพระธาตุหนองสามหมื่นระยะทาง 5 กิโลเมตร
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
---|---|
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4481 1376, 0 4481 2406 |
9 พระธาตุพนมวรมหาวิหาร
สถานที่ตั้ง : อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ในวันที่ 11 สิงหาคม 2518 เวลา 19.38 น. พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงทั้งองค์ เนื่องจากความเก่าแก่ขององค์พระธาตุพนมและประจวบกับระหว่างนั้นฝนตกพายุพัดแรงติดต่อกันมาหลายวัน ประชาชนทั้งประเทศได้ร่วมบริจาคทุนทรัพย์และรัฐบาลได้ก่อสร้างองค์พระธาตุขึ้นใหม่ตามแบบเดิม การก่อสร้างนี้เสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2522 นอกจากพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุในองค์พระธาตุแล้ว ยังมีของมีค่ามากมายนับหมื่นชิ้น โดยเฉพาะฉัตรทองคำบนยอดพระธาตุเป็นฉัตรทองคำที่มีน้ำหนักถึง 110 กิโลกัม ปัจจุบันองค์ พระธาตุมีฐานกว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.60 เมตร เป็นเจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมสูงแลดูสง่างาม งานนมัสการองค์พระธาตุเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 10 ค่ำ เดือน 3 ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
การเดินทาง
จากอำเภอเมืองนครพนมเดินทางมาทางทิศใต้ตามเส้นทางหลวง 212 ประมาณ 50 กิโลเมตรถึงอำเภอธาตุพนม
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
---|
10 พระธาตุศรีสองรัก
สถานที่ตั้ง : อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ที่นี่มีความเชื่อว่าหากนำต้นผึ้งไปขอพรพระธาตุศรีสองรักแล้วจะสมความมุ่งมาดปรารถนา แต่ควรงดสักการะด้วยดอกไม้ และของบูชาสีแดง รวมทั้งงดใส่เสื้อสีแดงไปบูชาพระธาตุ เพราะเป็นสีแห่งเลือดและความรุนแรง หลังจากนมัสการพระธาตุแล้ว ที่อำเภอด่านซ้ายมีน้ำพริกแจ่วดำน้ำผักสะทอน เป็นอาหารท้องถิ่นที่ขึ้นชื่อ และเป็นของฝากที่หาทานได้ยาก มีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านนาดี อำเภอด่านซ้ายร่วมกันผลิตจำหน่าย สนใจหาซื้อได้ที่ร้าน OTOP ในจังหวัดเลย
การเดินทาง
ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร หรือห่างจากตัวจังหวัด 83 กิโลเมตร ไปตามทางหลวงหมายเลข 203 แล้วแยกขวาตรงกิโลเมตรที่ 66 เข้าทางหลวงหมายเลข 2013 อีก 15 กิโลเมตร ถึงอำเภอด่านซ้ายจากนั้นแยกขวาเข้าเส้นทาง 2113 อีก 1 กิโลเมตร
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
---|---|
สอบถามข้อมูล | โทร. 08 3145 3080 |
11 พระธาตุยาคู
สถานที่ตั้ง : อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4381 1620 |
---|
12 โบราณสถานภูผายา
สถานที่ตั้ง : อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู
การเดินทาง
จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 210(หนองบัวลำภู-วังสะพุง) จากนั้นเลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 2097 ถึงอำเภอสุวรรณคูหา แล้วใช้เส้นทางอำเภอสุวรรณคูหา-บ้านนาเจริญ
เปิดให้บริการ | 08:00 - 18:00 น. |
---|---|
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4281 2812 |
13 อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
สถานที่ตั้ง : อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
พระพุทธบาทบัวบก อยู่บริเวณทางแยกซ้ายมือก่อนถึงที่ทำการอุทยานฯสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2463-2477 คำว่า "บัวบก" เป็นชื่อของพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นตามป่า มีหัว และใบคล้ายใบบัว ชาวบ้านเรียกว่า “ผักหนอก” บัวบกนี้จะมีอยู่มากในบริเวณที่พบรอยพระพุทธบาท จึงเรียกรอยพระพุทธบาทนี้ว่า "พระพุทธบาทบัวบก" หรือคำว่าบัวบกอาจจะมาจากคำว่า บ่บก ซึ่งหมายถึง ไม่แห้งแล้ง รอยพระพุทธบาทมีลักษณะเป็นแอ่งลึกประมาณ 60 เซนติเมตร ลงไปในพื้นหินยาว 1.93 เมตร กว้าง 90 เซนติเมตร เดิมมีการก่อมณฑปครอบรอยพระพุทธบาทไว้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2465 พระอาจารย์ศรีทัตย์ สุวรรณมาโจ ได้รื้อมณฑปเก่าออกแล้วสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นใหม่ และยังสร้างรอยพระพุทธบาทจำลองวางทับรอยพระพุทธบาทเดิมไว้ ภายในพระธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตัวองค์เจดีย์เป็นทรงบัวเหลี่ยมคล้ายองค์พระธาตุพนม มีงานนมัสการพระพุทธบาทบัวบกในวันขึ้น 13-15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี
พระพุทธบาทหลังเต่า อยู่ทางทิศใต้ของพระพุทธบาทบัวบก มีลักษณะเป็นรอยพระบาทสลักลึกลงไปในพื้นหิน ลึกประมาณ 25 เซนติเมตร ใจกลางพระบาทสลักเป็นรูปดอกบัว กลีบแหลมนูนขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด และเนื่องจากพระพุทธบาทแห่งนี้อยู่ใกล้กับเพิงหินธรรมชาติรูปร่างคล้ายเต่า จึงได้ชื่อว่า “พระพุทธบาทหลังเต่า”
อยู่ห่างจากตัวจังหวัด 67 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2 (อุดรธานี-หนองคาย) กิโลเมตรที่ 13 เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2021 ไปทางอำเภอบ้านผือ ระยะทาง 42 กิโลเมตร เลี้ยวขวาประมาณ 500 เมตร และตรงไปตามทางหลวงหมายเลข 2348 อีก 12 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 2 กิโลเมตร
เปิดให้บริการ | 08:30 - 18:00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 10 บาท (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
14 ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่
สถานที่ตั้ง : อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
นอกจากนี้ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณวัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร
15 ปราสาทบ้านเบญ
สถานที่ตั้ง : กิ่งอำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
การเดินทาง
การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 63 กิโลเมตร บนเส้นทางเดชอุดม-น้ำยืน ตามทางหลวงหมายเลข 2192 เลี้ยวเข้าทางหลวงหมายเลข 2214 ก่อนถึงอำเภอทุ่งศรีอุดม
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30 - 16:30 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
16 ปราสาทบ้านปราสาท
สถานที่ตั้ง : อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
ปรางค์องค์กลางขนาดใหญ่กว่าปรางค์อีก 2 องค์ ที่ขนาบข้างเล็กน้อยแต่ส่วนหลังคาเตี้ยกว่า เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัสย่อมุมไม้สิบสอง มีประตูเดียวด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีกรอบประตูหินทราย และทับหลังติดอยู่เป็นภาพบุคคลยืนอยู่เหนือหน้ากาล ส่วนท่อนพวงมาลัยมีลายมาแบ่งที่เสี้ยวภาพบุคคลยืนในซุ้มเรือนแก้ว ไม่อาจสันนิษฐานว่าเป็นผู้ใดด้วยลายสลักยังไม่แล้วเสร็จ ปรางค์สององค์ที่ขนาบข้างขนาดเดียวกันได้รับการดัดแปลงรูปแบบไปมากโดยเฉพาะส่วนหลังคาและประตูซึ่งก่อทึบหมดทุกด้าน ยังคงปรากฏกรอบประตูหินทราย และชิ้นส่วนทับหลังสลักภาพการกวนเกษียรสมุทรตกอยู่หน้าประตูปรางค์องค์ที่อยู่ด้านทิศใต้ จากลักษณะทางด้านศิลปกรรมของทับหลังที่ปรากฏอาจสันนิษฐานได้ว่าปราสาทแห่งนี้มีอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16 ร่วมสมัยศิลปะขอมแบบคลัง-บาปวนของเขมร และต่อมาได้รับการดัดแปลงในสมัยหลัง
การเดินทาง
การเดินทาง จากตัวเมืองศรีสะเกษ ใช้ทางหลวงหมายเลข 226ประมาณ 39 กิโลเมตร ถึงอำเภอห้วยทับทัน แล้วเลี้ยวขวาตามทางอีก 8 กิโลเมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 08:30 – 16:30 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | ฟรี |
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4421 3666,0 4421 3030 |
17 ปราสาทหินบ้านพลวง
สถานที่ตั้ง : อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้ช่างมักสลักเป็นรูปสัตว์เรียงเป็นแนว เช่น ช้าง กระรอก หมู ลิง และวัวอยู่บนทับหลัง สำหรับหน้าบันด้านทิศตะวันออกสลักเป็นรูปพระกฤษณะ ยกภูเขาโควรรธนะและเช่นเดียวกัน มีรูปสลักเป็นรูปสัตว์เล็ก ๆ นอกกรอบหน้าบันอันน่าจะแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ เพราะมีแหล่งน้ำต่าง ๆ อยู่มาก ที่ผนังด้านหน้ามีรูปทวารบาลยืนกุมกระบอง ลักษณะของปราสาทหินองค์นี้คล้ายกับปรางค์น้อยบนเขาพนมรุ้ง ลวดลายเป็นลักษณะศิลปะขอมแบบ บาปวน กำหนดอายุอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 จากลักษณะของฐานรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพื้นที่ทางด้านข้างขององค์ปรางค์เหลืออยู่มาก สันนิษฐานว่า แผนผังของปราสาทแห่งนี้น่าจะประกอบด้วยปรางค์สามองค์สร้างเรียงกัน แต่อาจยังสร้างไม่เสร็จหรืออาจถูกรื้อออกไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็เป็นได้
การเดินทาง
ห่างจากที่ว่าการอำเภอปราสาท 4 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สุรินทร์-ปราสาท-ช่องจอม) มีทางแยกซ้ายมือกิโลเมตรที่ 34-35ไปอีกราว 1 กิโลเมตร
เปิดให้บริการ | ทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07:30 18:00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 10 บาท (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
18 ปราสาทเมืองต่ำ
สถานที่ตั้ง : อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
ตัวปราสาท ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างหลัก คือ ปรางค์อิฐ 5 องค์ สร้างอยู่บนฐานเดียวกัน ก่อด้วยศิลาแลง องค์ปรางค์ทั้ง 5 ตั้งเรียงกันเป็น 2 แถว แถวหน้า 3 องค์ แถวหลัง 2 องค์ ปรางค์ประธานซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดตั้งอยู่ตรงกลางแถวหน้า ปัจจุบันคงเหลืออยู่เพียงส่วนฐาน ส่วนองค์อื่นๆ ที่เหลืออยู่ก็มีสภาพที่ไม่สมบูรณ์ ปรางค์ทุกองค์มีประตูเข้าสู่ภายในปรางค์ได้ด้านเดียว คือ ด้านทิศตะวันออก ด้านอื่นทำเป็นประตูหลอก แต่ปรางค์ประธานมีมุขหน้าอีกชั้นหนึ่ง การขุดแต่งบริเวณปรางค์ประธานได้พบทับหลังประตูมุขปรางค์ สลักเป็นภาพเทพถือดอกบัวขาบประทับนั่งเหนือหน้ากาล แวดล้อมด้วยสตรีเป็นบริวาร หน้าบันสลักภาพพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ส่วนทับหลังประตูปรางค์สลักเป็นเทพนั่งชันเข่าเหนือหน้ากาล และยังได้พบชิ้นส่วนลวดลายปูนปั้นประดับฐานอีกด้วย แสดงว่าปรางค์เหล่านี้ได้เคยมีปูนฉาบและปั้นปูนเป็นลวดลายประดับตกแต่งอย่างงดงาม สำหรับปรางค์บริวารอีก 4 องค์นั้นยังคงมีทับหลังติดอยู่เหนือประตูทางเข้า 2 องค์ คือ องค์ที่อยู่ทางทิศเหนือของแถวหน้า และองค์ทิศใต้ของแถวหลัง สลักภาพพระศิวะอุ้มนางอุมาบนพระเพลา ประทับนั่งอยู่บนหลังโคนนทิ และภาพพระวรุณทรงหงส์ ตามลำดับ จากการขุดแต่งได้พบยอดปรางค์ทำด้วยหินทรายสลักเป็นรูปดอกบัว ตกอยู่ในบริเวณฐานปรางค์ หน้ากลุ่มปรางค์ยังมีวิหารเป็นอาคารก่ออิฐ 2 หลัง ตั้งหันหน้าตรงกับปรางค์ที่อยู่ด้านข้างทั้งสององค์ สิ่งก่อสร้างดังกล่าว ล้อมรอบด้วยกำแพงสองชั้น กำแพงชั้นในก่อด้วยหินทรายเป็นห้องแคบ ๆ ยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ที่เรียกว่า ระเบียงคด กำแพงชั้นนอกเป็นกำแพงศิลาแลง กำแพงทั้งสองชั้นมีซุ้มประตูอยู่ในแนวตั้งตรงกันทั้ง 4 ด้าน ซุ้มประตูทั้งหมดยกเว้นซุ้มประตูของประตูชั้นในด้านทิศตะวันตกก่อด้วยหินทราย สลักลวดลายในส่วนต่าง ๆ อย่างงดงาม ตั้งแต่หน้าบัน ทับหลัง เสาติดผนัง ฯลฯ เป็นภาพเล่าเรื่องในศาสนาฮินดูและลวดลายที่ผูกขึ้นจากใบไม้ ดอกไม้ที่มักเรียกรวม ๆ ว่า ลายพันธุ์พฤกษา การเดินทาง
จากบุรีรัมย์ใช้ทางหลวงหมายเลข 219 จากนั้นใช้ทางหลวงหมายเลข 24 และเลี้ยวซ้ายเข้าทางหมายเลข 2117 ก็จะสังเกตเห็นปราสาทเมืองต่ำ (อยู่ห่างจากปราสาทพนมรุ้งประมาณ 8 กิโลเมตร)
เปิดให้บริการ | 06:00 - 18:00 น. |
---|---|
ค่าธรรมเนียม | 20 บาท (ราคานี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้แจ้งให้ทราบ) |
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4478 2715 |
19 ปราสาทเปือยน้อย
สถานที่ตั้ง : อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
การเดินทาง
จากขอนแก่นจะใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 2 (ขอนแก่น-บ้านไผ่) ระยะทาง 44 กิโลเมตร เข้าทางหลวงหมายเลข 23 (บ้านไผ่-บรบือ) ไปอีกประมาณ 11 กิโลเมตร แล้วแยกขวาเข้าสู่อำเภอเปือยน้อยอีก 24 กิโลเมตร
สอบถามข้อมูล | โทร. 0 4322 7716-7 |
---|
20 ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย
สถานที่ตั้ง : อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
การเดินทาง
การเดินทาง ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 8 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 226 (สายศรีสะเกษ-อุทุมพรพิสัย) อยู่ด้านขวามือ