ข้อมูลแนะนำจังหวัดลำพูน

พระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
ลำพูน จังหวัดเล็กๆ ในภาคเหนือที่เรื่องราวของประวัติศาสตร์ไม่ได้เล็กตามพื้นที่ แต่กลับยิ่งใหญ่และเก่าแก่ที่สุดในดินแดนล้านนา เดิมลำพูนมีชื่อว่า
"นครหริภุญไชย" สร้างขึ้นราว พ.ศ.1200 โดยฤาษีวาสุเทพได้เกณฑ์พวกเมงคบุตร หรือละว้า ล่องเรือลงมาจากต้นแม่น้ำปิง เพื่อสร้างเมืองใหม่
ครั้นเมื่อสร้างเสร็จได้อัญเชิญพระนางจามเทวี พระธิดาแห่งเมืองละโว้มาปกครองเมืองเป็นพระองค์แรก จากนั้นนครหริภุญไชยก็มีกษัตริย์ครองเมืองสืบ
ต่อมาอีกหลายพระองค์ยาวนานกว่า 600 ปี ก่อนจะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรล้านนา และต่อมาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าอีกกว่า 200 ปี
จนมาถึงสมัยกรุงธนบุรี เจ้ากาวิละได้รับการสนับสนุนจากพระเจ้าตากสินมหาราชขับไล่พม่าสำเร็จ จนได้ครองเมืองเชียงใหม่ แล้วให้เจ้าคำฟั่น น้องชาย
ครองเมืองลำพูน ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมืองลำพูนมีฐานะเป็นเมืองขึ้น มีเจ้าผู้ครองนครสืบต่อกันมา จนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี
พ.ศ. 2475 จึงได้มีการยกเลิกตำแหน่งเจ้าผู้ครองนคร และยกฐานะเป็นจังหวัดลำพูนจนถึงปัจจุบัน
ลำพูนในปัจจุบันมีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในเชิงศิลปวัฒนธรรมเป็นอย่างมาก มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งวัดวาอาราม เจดีย์เก่าแก่ ศิลปะล้านนาแท้ที่มีลวด
ลายอันวิจิตรงดงาม อีกทั้งงานหัตถกรรมที่สั่งสมกันมาอย่างยาวนานจนเป็นสินค้าขึ้นชื่อ อย่างผ้าไหมยกดอก นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งปลูกลำไย กระเทียม
แหล่งใหญ่ของภาคเหนือ ส่วนด้านอุตสาหกรรม ลำพูนนับเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพ เป็นศูนย์กลางของภาคเหนือตอนบน และมีนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่สี่
เหลี่ยมเศรษฐกิจร่วมกับจังหวัดเชียงใหม่
อาณาเขต
ทิศเหนือ |
: ติดต่อกับ จังหวัด เชียงใหม่ |
ทิศใต้ |
: ดต่อกับ ลำปางและ จังหวัดตาก |
ทิศตะวันออก |
: ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง |
ทิศตะวันตก |
: ติดต่อกับ จังหวัดเชียงใหม่ |
ระยะทาง
ระยะทางจากอำเภอเมืองลำพูนไปยังอำเภอต่างๆ |
ป่าซาง |
11 กม. |
เวียงหนองล่อง |
45 กม. |
แม่ทา |
25 กม. |
ลี้ |
105 กม. |
บ้านธิ |
26 กม. |
ทุ่งหัวช้าง |
105 กม. |
บ้านโฮ่ง |
40 กม. |
|
|
เทศกาลและงานประเพณี

งานสืบสานวัฒนธรรมปิงห่าง-ไส้อั่วหละปูน
งานสืบสานวัฒนธรรมปิงห่าง-ไส้อั่วหละปูน
วันที่จัดงาน: 17-19 มกราคม
สถานที่จัดงาน: บริเวณปิงห่างศูนย์วัฒนธรรม ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน
การจัดงานสืบสานวัฒนธรรมปิงห่าง-ไส้อั่วหละปูน ณ บริเวณปิงห่างศูนย์วัฒนธรรม ต.อุโมงค์ ในทุกๆ ปีจะเต็มไปด้วย
ประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาร่วมสืบสานวัฒนธรรมปิงห่าง เทศกาลชิมไวน์ลำไยกับไส้อั่วอุโมงค์ ประจำปี โดยงานนี้มีวัตถุ
ประสงค์จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ลำไยแปรรูปในรูปของไวน์ผลไม้ จึงมีการนำไวน์ที่แปรรูปจากลำไย และไวน์เลิศรสทั้งในและนอก
ประเทศมาให้ชิม ชม และจำหน่าย มีการนำสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ มาให้เลือกซื้อมากมาย
ส่วนกิจกรรมที่น่าสนใจ คือ การประกวดทำแกงแคของแม่บ้านใน จ.ลำพูน การประกวดการทำไส้อั่ว สินค้าธงฟ้าราคาประหยัด
นอกจากนี้ยังมีเวทีการแสดงดนตรีพื้นเมือง แสง สี เสียง อย่างยิ่งใหญ่ตระการตาตลอดทั้งวันทั้งคืน ตกแต่งสถานที่ให้นักท่องเที่ยว
สามารถเลือกซื้อไส้อั่ว อาหารพื้นเมือง และชมการแสดงพื้นบ้าน พร้อมทั้งสัมผัสกับบรรยากาศของธรรมชาติอันอบอุ่นแบบล้านนา
ไทยริมแม่น้ำปิงห่างอีกด้วย
งานมหกรรมผ้าทอของดีเมืองหละปูน
วันที่จัดงาน: 30 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณสะพานขัวมุงท่าสิงห์ (ตรงข้ามวัดพระธาตุหริภุญชัย วรวิหาร) อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูนมีชื่อเสียงทางด้านผ้าทอลวดลายฝีมือจากราชสำนักโบราณมาสู่พื้นบ้านด้วยความประณีตสวยงาม และเป็นมรดกทางวัฒนธรรม
สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน โดยงานใช้ชื่อว่า “แอ่วขัวมุง นุ่งผ้าตอ ผ่อของดี เมืองหละปูน” ขัว ภาษาเหนือ หมายถึง สะพานคนเดินข้าม ลำคลอง
ลำเหมือง หรือแม่น้ำ ดังนั้นขัวมุง จึงหมายถึงสะพานที่มีหลังคาคลุมตลอดตัวสะพาน ภายในงานมีการแสดงชุด “จตุธาราไหว้สาหริภุณชัย”
การแสดงแฟชั่นโชว์ผ้าทอยกดอก การจัดนิทรรศการความเป็นมาของผ้าทอยกดอก ณ พิพิธภัณฑ์วัดต้นแก้ว การสาธิตของดีเมืองลำพูน เช่น
การอิดฝ้าย ปั่นฝ้าย และทอฝ้าย การประกวดธิดาผ้าทอ ฯลฯ การจับจ่ายผ้าทอ
งานของดีศรีหริภุญชัย
วันที่จัดงาน: เดือนกุมภาพันธ์
สถานที่จัดงาน: บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน
ในทุกๆ ปีช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จะมีงานแสดงและจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และเกษตรแปรรูป บริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร
ซึ่งเกษตรกรและกลุ่มแม่บ้านของจังหวัดลำพูนเป็นผู้ผลิต ภายในงานมีขบวนแห่ของกลุ่มแม่บ้าน การแสดงทางศิลปวัฒนธรรม การประกวดเรือนชนบท
และการออกร้านขายสินค้าหัตถกรรมในราคาย่อมเยาให้นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปได้ร่วมชมและเลือกซื้อสินค้า
มหกรรมกลองหลวงล้านนา ไหว้สาพระพุทธบาทตากผ้า
วันที่จัดงาน: เดือนมีนาคม
สถานที่จัดงาน: ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า อำเภอป่าซาง
ลำพูนเป็นจังหวัดที่เต็มไปด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี และแหล่งธรรมชาติ ทำให้ผู้คนในท้องถิ่นยังคงรักษาขนบธรรมเนียม
และประเพณีดั้งเดิมไว้และตลอดทั้งปีมีการจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองและงานประเพณีที่สำคัญ ดังเช่น งาน “มหกรรมกลองหลวงล้านนา
ไหว้สาพระพุทธบาทตากผ้า” เริ่มจัดขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2544 เพื่อสืบสานอนุรักษณ์ประเพณีล้านนา ซึ่งคำว่า “สา” ภาษาเหนือหมายถึง
การบูชา ภายในงานจัดให้มีขบวนแห่ ประกอบด้วยขบวนฟ้อนเล็บ สลุงหลวง น้ำมนต์ และขบวนกองหลวง กองสะบัดชัย กลองมองเชิง โดย
แห่จากบริเวณทางเข้าวัดไปถึงโบสถ์เพื่อที่จะนำน้ำมนต์จากขบวนแห่ลงสรงรอยพระพุทธบาทตามประเพณี นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันการตี
กลองสะบัดชัย กลองมองเชิง กลองหลวง และมหรสพอื่น ๆ มากมาย
ประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย
วันที่จัดงาน: เดือนพฤษภาคม
สถานที่จัดงาน: ณ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร อำเภอเมืองลำพูน
พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นปูชนียสถานอันสำคัญยิ่งของจังหวัดลำพูน ดังนั้นประเพณีสรงน้ำพระธาตุจึงเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่
และเป็นที่สนใจของพุทธศาสนิกชนในจังหวัดลำพูนและจังหวัดใกล้เคียงยึดถือและปฏิบัติมาเป็นประจำทุกปี ตั้งแต่วันขึ้น 11
ค่ำ ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาติหริภุญชัย โดยนำน้ำพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพร
เจ้าอยู่หัวฯ และเครื่องสักการะเพื่อประกอบพิธี รวมทั้งทางจังหวัดได้อัญเชิญน้ำพระพุทธมนต์ศักดิ์สิทธิ์จาก “ดอยขะม้อ” เข้าร่วม
พิธีสรงด้วย บริเวณที่ทำพิธีอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระธาตุ นอกจากนี้ยังมีการแสดงทางวัฒนธรรม การประกวดตีกลองสะบัด
ชัยในตอนกลางวัน การประกวดตีกลองหลวง และประกวดฟ้อนยองและฟ้อนเล็บในตอนกลางคืนอีกด้วย
งานเทศกาลลำไย

งานเทศกาลลำไย
วันที่จัดงาน: เดือนกรกฎาคม – สิงหาคม ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: ณ บริเวณสนามกีฬาจังหวัด อำเภอเมืองลำพูน
จังหวัดลำพูน ถือเป็นแหล่งผลิตลำไยมากที่สุดของประเทศนอกเหนือจากกระเทียม หัวหอม โดยงานเทศกาลลำไยนี้
ถือว่าเป็นงานใหญ่ประจำปีของชาวจังหวัดลำพูน เพราะนอกจากทางจังหวัดได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลผลิตให้
แก่นักท่องเที่ยว และเกษตรกรด้วยกันแล้ว ยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนลำไยอีกด้วย
ภายในงานจะมีขบวนแห่รถลำไยที่ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม การประกวดธิดาชาวสวนลำไย การประกวดผลผลิตลำไย
และออกร้านค้าจำหน่าย ประกวดผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง อีกทั้งมีการจัดนิทรรศกาลทางวิชา
การให้เกษตรกรให้นักท่องเที่ยวได้รับทั้งความรู้ทางวิชาการ และสามารถเลือกซื้อลำไยผลโต คุณภาพดี ราคาถูกได้
งานเจ้าแม่จามเทวีและกาชาดจังหวัดลำพูน
วันที่จัดงาน: เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
สถานที่จัดงาน: ณ สนามกีฬากลางจังหวัด อำเภอเมืองลำพูน
ทางจังหวัดลำพูนได้จัดงานนี้ขึ้นหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล ในงานจะมีการประกวด “นางสาวลำพูน” และ “ธิดาชาวยอง”
การจัดนิทรรศการ การออกร้านจำหน่ายทั้งภาครัฐและเอกชน มีการแสดงมหรสพต่างๆ การแสดงบนเวที การแสดงทางวัฒ
นธรรมต่างๆ เช่น การฟ้อน การตีกลองสะบัดชัย ฯลฯ
งานอะเมซิ่งกะเหรี่ยง

งานเจ้าแม่จามเทวีและกาชาดจังหวัดลำพูน
วันที่จัดงาน: เดือนธันวาคม
สถานที่จัดงาน: ณ หมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม อำเภอลี้
งานนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณี และส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงที่บ้านพระบาทห้วยต้ม
ซึ่งมีสองชนเผ่าคือ กะเหรี่ยงโปวและกะเหรี่ยงปะกอ มีอาชีพทำเครื่องเงินขาย เพื่อเสริมรายได้ให้กับชุมชนและครอบครัวนอกเหนือ
จากการทำไร่ ภายในงานมีการแสดงการปั่นจักรยานโบราณ จากที่ว่าการอำเภอลี้ ไปจนถึงหมู่บ้านพระบาทห้วยต้ม การชกมวยกะโน
การแข่งขันเป่าเขาควาย การออกร้านขายเครื่องเงิน และผ้าทอของชาวกะเหรี่ยง และการประกวดผ้าทอ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชม
งานได้ตั้งแต่เวลา 07.00 - 19.00 น.
งานเทศกาลโคนมภาคเหนือ
วันที่จัดงาน: เดือนธันวาคม
สถานที่จัดงาน: ณ สหกรณ์โคนมลำพูนจำกัด อำเภอบ้านธิ
ชมรมผู้เลี้ยงโคนมภาคเหนือและชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมและแปรรูปผลิตภัณฑ์นม 2010 ได้ร่วมกันจัดงาน
เทศกาลโคนมภาคเหนือ ครั้งที่ 1 "Northerm Dairy Festival" ขึ้นครั้งแรกในปี 2553 ภายในงาน
มีการจัดนิทรรศการ และบริการให้คำปรึกษาด้านบัญชี สอนแนะบัญชี การจดบันทึกบัญชีรับ จ่ายในครัวเรือน และ
บัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพ แก่เกษตรกร เยาวชน ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมงานดังกล่าว ซึ่งได้รับความ
สนใจเป็นอย่างดี และทางสหกรณ์โคนมลำพูน จำกัด ได้ให้สมาชิกทุกคนทำบัญชีครัวเรือน และบัญชีต้นทุนอาชีพอีกด้วย
งานสืบสานตำนานป่าซาง
วันที่จัดงาน: 31 ธันวาคม - 2 มกราคม ของทุกปี
สถานที่จัดงาน: บริเวณศูนย์แสดงศิลปหัตถกรรมและสาธิต เทศบาลตำบลป่าซาง
นับแต่โบราณอำเภอป่าซางเป็นแหล่งจำหน่ายผ้าทอของที่ระลึกแก่นักท่องเที่ยวที่คึกคักที่สุดของจังหวัดลำพูน จนถึงปัจจุบัน
เส้นทางการคมนาคมเปลี่ยนไป แม้จะยังเป็นแหล่งผลิตผ้าฝ้ายทอมือ ผ้านวม แต่ก็เป็นแบบค้าส่ง ไม่ใช่ศูนย์กลางการจำหน่าย
ที่นักท่องเที่ยวรู้จักอีกแล้ว ทางอำเภอป่าซางจึงได้จัดให้มีงานสิบสานตำนานป่าซางเพื่อฟื้นฟูอดีตอันรุ่งเรืองของอำเภอป่าซาง
พร้อมกันนี้อำเภอป่าซางยังมีชื่อเสียงทางด้านการทอผ้าฝ้ายเนื้อดีและผ้านวม มีการประดิษฐ์ผ้านวมผืนใหญ่ที่สุดในโลกที่นี่ด้วย
โดยภายในงานมีการออกร้านจำหน่ายของดีป่าซาง ได้แก่ ผ้าฝ้ายทอ ผ้าทอมือ ผ้านวมเย็บมือ งานหัตถกรรมต่างๆ และไวน์จาก
อำเภอป่าซาง อาหารพื้นเมือง การแสดงบนเวที การแสดง ประกวดเย็บผ้านวม และร่วมชิมอาหารพื้นเมืองในบรรยากาศพื้นบ้าน
ตัวอักษร